| |
แอมเฟทามีนหรือยาบ้า
ตัวอย่าง ชายไทยอายุ 24 ปี อาชีพขับรถบรรทุกรับประทานแอมเฟทามีนวันละ 3 เม็ดเพื่อที่จะขับรถได้ตลอดคืน เป็นเวลานาน 3 เดือน เกิดอาการคลุ้มคลั่ง เอะอะวุ่นวาย นอนไม่หลับ หวาดกลัวคนจะมาทำร้าย ได้ยินเสียงคนหลายคนพูดจาขู่คุกคามจะเอาชีวิตและมองเห็นว่ามีคนถือมีดจะเข้ามาทำร้าย กลัวมาก ได้หลบหนีอยู่ในบ้าน มีพฤติกรรมรุนแรง น่ากลัว โดยถือมีดทำครัวไว้ป้องกันตัวภรรยาเข้าไปปลอบโยน แต่ผู้ป่วยไม่เชื่อฟัง คงยืนกรานว่าจะมีคนมาฆ่า แน่นอน เมื่อแจ้งไปที่ศูนย์วิทยุ และตำรวจเข้ามาล้อมบ้านผู้ป่วยยิ่งเกิดกลัว เพราะคิดว่าตำรวจเป็นคนร้ายที่เข้ามาในบ้านเพื่อทำร้านต้น พร้อมกับได้จับตัวบุตรชายอายุ 3 ขวบ ไว้เป็นตัวประกันเพื่อไม่ให้ตำรวจเข้ามาทำร้ายตน ภายหลังจากที่ตำรวจใช้เวลาปลอบโยนไม่ให้ผู้ป่วยกลัวอยู่เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยจึงยอมปล่อยตัวบุตรชายและตำรวจเข้าจับตัวได้ นำตัวมารักษาที่โรงพยาบาล ตัวอย่างนี้ คือเป็นอาการของผู้เสพซึ่งเกิดอาการวิกลจริตขึ้นชั่วคราว โดยเป็นผลมาจากพิษของแอมเฟทามีน และเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เป็นประจำ ผู้ป่วยดังกล่าวเมื่อได้รับการรักษาประมาณ 10 - 14 วัน อาการวิกลจริตก็จะหมดไป แต่ต้องให้การรักษาอาการติดแอมเฟทามีนต่อไป
ประวัติ การใช้ยากระตุ้นสมองมีมาเป็นเวลานานในประวัติศาสตร์แพทย์ชาวจีนได้ใช้มะเฮือง ( Ma huang ) เป็นยารักษาโรคมานานกว่า 5 พันปี สารเคมีในพืชมะเฮืองคือ อีเฟดรีน ( ephedrine ) ดร. อีเดเลา ( Edellau ) เป็นผู้สังเคราะห์แอมเฟทามีนได้เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1876 และทราบเพียงว่ายามีฤทธิ์ขยายหลอดลม จนถึงปี ค.ศ. 1933 จึงเพิ่งทราบว่ายามีฤทธิ์กระต้นสมองด้วย โดยทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนานหายอ่อนเพลีย เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีพละกำลัง และทำให้เบื่ออาหาร
การแพร่ระบาด
มีการใช้ แอมเฟทามีนในสงครามโลกครั้งที่ 2 และในสงครามเวียดนาม เพื่อให้ทหารตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาในระหว่างอยู่ในสนามรบรวมทั้งมีพละกำลัง
ได้มีการแพร่ระบาดของแอมเฟทามีนในประเทศญี่ปุ่น สวีเดน และอเมริกา ในปี
ค.ศ. 1950 และ 1960 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราของพฤติกรรมรุนแรงของประชากร
จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย พร้อมกับมีพัฒนาการของวัฒนธรรมของการเสพย์ยา (speed culture) ในช่วงนั้นพบว่าผู้เสพแอมเฟทามีนจำนวนหนึ่งจะเป็นผู้ติดเฮโรอีนอยู่ก่อน
และได้รับแอมเฟทามีนดีกว่าเนื่องจาก - ราคาถูก
- หาง่าย
- ไม่ผิดกฎหมาย
และ
- ทำให้มีพละกำลังสามารถไปก่อเหตุวุ่นวายหรือก่อการจลาจลตามถนนได้รุนแรง
แต่ภายหลังต่อมาผู้เสพเกิดอาการวิกลจริตกันมาก เช่น หวาดระแวงว่ามีคนจะมาทำร้าย
จึงทำให้จำนวนผู้เสพลดลง
ในช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึง 1970 ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการใช้แอมเฟทามีน
กันเป็นจำนวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน เช่น ทำให้เบื่ออาหารและหายอ่อนเพลีย
มีชาวอเมริการ้อยละ 6-8 เสพสารนี้ในยุคนั้น
ในช่วงนั้นได้มีการเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ของพวกฮิปปี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาใน
การเสพสารแอมเฟทามีนอย่างผิดกฎหมาย โดยก่อนหน้านั้นเสพกัญชา และได้เปลี่ยน
แอมเฟทามีน ผู้ที่เข้ามาร่วมกลุ่มในระยะแรกจะเสพเป็นครั้งคราว แต่ในระยะหลังจะเสพ
ตลอดเวลาและขนาดสูง
ในชุมชนเหล่านี้จะพากันไปเสพที่ บ้านแห่งความสุข และ สนุกสนาน
(flash houses) ผู้ที่มาชุมนุมกันในบ้านจะมีจำนวนมาก แต่ละคนจะฉีดแอมเฟทามีน
เข้าหลอดเลือดดำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเตือน จนกระทั่งมีอาการอ่อน
เพลียและหวาดระแวงอย่างมาก และก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง
การแพร่ระบาดของยาเสพย์ติดในประเทศไทย
รูปแบบของสาร
การเสพมี 3 วิธีคือรับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และสูดดม (methamphetamine) ส่วนชนิดเป็นผลึกนั้นมีชื่อเรียกกันว่า ผลึกน้ำแข็ง
( ice ) เสพโดยการสูดดม ออกฤทธิ์เร็วมากและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เป็นชนิดที่กำลังแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา
อาการ
- อาการพิษของสาร ผู้เสพจะมีอาการคล้าย ๆ เสพโคเคนแต่อาการมีอยู่นานกว่า โดยเกิดอารมณ์ครึกครื้นสนุกสนาน พูดมากชอบพบปะผู้คน ทำโน่นทำนี่ตลอดเวลา กระวนกระวาย ภาวะตื่นตัวสูง อารมณ์อ่อนไหว วิตกกังวล เครียด รู้สึกตัวเองมีความสำคัญมากโกรธง่าย ชอบพาลหาเรื่องทะเลาะวิวาท การตัดสินใจเสียและนอนไม่หลับ
ผู้ที่เสพขนาดสูงจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง มีความคิดหวาดระแวง ว่ามีคนจะทำร้ายและหวาดกลัว มีหูแว่วได้ยินเสียงคนพูดขู่ต่าง ๆ นา ๆ และกระวนกระวาย โดยอาการเหมือนคนวิกลจริตชนิดโรคจิตเภท
ผู้ป่วยจะมีอาการทางกายดังนี้ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยาย เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ หายในช้า เจ็บหน้าอก สับสน อาจมีอาการชักและหมดสติ ( coma )
อาการดังกล่าวจะปรากฏภายในเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากเสพยาแต่ถ้าเสพแบบสูดดมหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ อาการจะปรากฏเร็วในเวลาเป็นวินาที
- อาการขาดสาร มีความรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ รับประทานจุ อยากเสพยาและเชื่องช้า อารมณ์จะเฉยชาไม่ยินดียินร้าย
ผู้ที่มีอาการขาดยารุนแรงจะมีอารมณ์เศร้า เบื่อหน่ายชีวิตท้อแท้ใจ มีความคิดอยากตายและบางรายฆ่าตัวตายสำเร็จ
อันตรายและพิษของสาร
- อาการวิกลจริต หวาดระแวงว่ามีคนคอยทำร้าย ได้ยินเสียงข่มขู่ต่าง ๆ มีภาพหลอนและหวาดกลัวอย่างมาก
- มีอาการเศร้า เบื่อหน่ายชีวิต คิดฆ่าตัวตายและฆ่าตัวตาย
- ได้รับบาดเจ็บ เนื่องมาจากอุบัติเหตุหรือการทะเลาะวิวาท
- ติดโรคเอดส์โดยเฉพาะเสพโดยการฉีดยา
- เป็นโรคหัวใจ เช่น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอและอาจเสียชีวิต
- มีอาการชัก แบบโรคลมบ้าหมู
- หมดสติ ( coma )
- ซีด น้ำหนักลด ขาดอาหารและไม่แข็งแรง เป็นโรคติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะวัณโรคปอด
การรักษา
- อาการวิกลจริต รักษาโดยให้ยาต้านโรคจิตคือ ฮาโลเพอริดัล
- ให้ยาต้านเศร้าเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า
|