Home
รวมลิ้งค์
myfav
photo
สมุดเยี่ยม
ส่งการ์ด
กระดาษข่าว
โคเคน
ยาบ้าหรือยาม้า
กัญชา
กระดาษเมา
ใบกระท่อม

 

 


View Guestbook
Sign Guestbook

ติดต่อคนทำเวบ

  ยาเสพติด

  คลิกที่นี่เลยครับ

เชียงคำcmu
www.siammaxcyber.com สอนเขียนเวบ
เวบเมล์ เวบใหม่มาที่นี่
คอม-ไทย ดอทเน็ต
siammedic.com
ClubHP
siam.to/linkland

 

โคเคน : สารมฤตยู

ชื่ออื่น cocaine แคร็ก (crack)

โคเคน เป็นยาเสพติดชนิดหนึ่งที่จัดว่า ถ้าใครติดละก็ตายทั้งเป็นละครับ

 ประวัต โคเคนเป็นสารเสพติดซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีเมื่อประมาณ 600 ปี ที่ผ่านมา โดยในสมัยอินคา(Incas) ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองของเปรูมีความเชื่อถือว่าโคเคนเป็นสารซึ่งพระเจ้าประทานมาให้ แต่ในยุคปัจจุบัน โคเคนคือ สารมฤตยูจากนรก เพราะได้ทำลายมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจรวมทั้งทำให้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

        ประเทศสหรัฐอเมริกามีการเสพโคเคนกันมากตั้งแต่ ค.ศ. 1990 ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้ใช้ แคร็ก (crack) ซึ่งเป็นโคเคนแห้งเสพโดยการสูบ และเป็นสารเสพย์ติดที่เป็นอันตรายมากที่สุดชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบอีกกว่าร้อยละ 10 ของเด็กอเมริกาอายุระหว่าง 9-12 ปี ตอบแบบสำรวจว่าสามารถหาโคเคนมาได้โดยง่าย

     ประมาณว่ามีการลักลอบนำโคเคนเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาปีละ 80 ตัน จากประเทศอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศโคลัมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตโคเคนโดยสังเคราะห์จากใบโคคามากที่สุด

การแพร่ระบาด

        ปริมาณโคเคนที่ชาวอินคาเคยเสพอยู่ในระดับต่ำ ประมาณว่าชาวอินคาเสพโดยการเคี้ยวใบโคคาวันละ 60 กรัม สารอัลคาลอยด์มีอยู่ในใบโคคาเพียงร้อยละ 0.5 ดังนั้นจะเป็นสารโคเคนเท่ากับ 200 – 300 กรัม

        เรื่องราวเกี่ยวกับโคเคนได้แพร่ไปถึงยุโรปโดยคำบอกเล่าของนักล่าอาณานิคม และในปี ค.ศ. 1860 ผู้จำหน่ายไวน์และเครื่องดื่มชูกำลังในยุโรปได้เติมโคเคนเข้าไปด้วย ในเวลา 15 ปี ต่อมาคนทั่วไปสามารถหาซื้อผงโคเคนบริสุทธิ์มาเสพได้โดยง่าย ทำให้มีการเสพโคเคนเป็นประมาณสูงมากวันละ 200 – 1,000 มิลลิกรัมต่อคน ซึ่งมากกว่าประมาณในสมัยชาวอินคาเสพถึง 5 – 8 เท่า

        ในปี ค.ศ. 1884 ฟรอยด์ ได้เขียนบทความทางวิชาการบรรยายสรรพคุณของโคเคนไว้มากมาย โดยเขียนว่าโคเคนเป็นยากระตุ้นสมองและอารมณ์ทางเพศ เป็นยาชาเฉพาะที่ รักษาโรคหอบหืดอาการหมดแรง และโรคอื่นอีกหลายอย่าง อนึ่งฟรอยด์เองก็เสพโคเคนวันละ 200 มิลลิกรัม ต่อมาภายหลังจึงประกาศวว่าโคเคนเป็นสารเสพย์ติดร้ายแรง

        ปี ค.ศ. 1914 ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการออกกฎหมายห้ามจำหน่ายโคเคนโดยเสรี ต่อมาในปี ค.ศ.1930 ได้มีการค้นพบแอมเฟทามินรวมทั้งยากระตุ้นสมองชนิดอื่น และยาดังกล่าวได้เข้ามาแทนที่โคเคน เนื่องจากราคาถูกและหาได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เสพมีอารมณ์ร่าเริงนานกว่าโคเตน แต่ในปี ค.ศ. 1960 ผู้เสพก็ได้ทราบถึงอัตรายอันร้ายแรงของแอมเฟทามีนและได้ตั้งฉายาไว้ว่า “ยามรณะ” (speed kill) ทำให้แอมเฟทามีนถูกจัดเป็นยาเสพย์ติดให้โทษร้ายแรงเช่นเดียวกับโคเคน

        ปี ค.ศ. 1970 ได้มีการใช้โคเคนกันมากขึ้นอีก โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงและชั้นกลาง และนิยมเสพโดยการสูดดม โดยมีความเชื่อว่าโคเคนปลอดภัยและไม่เสพติด

        ปี ค.ศ. 1980 ได้มีโคนเคนชนิดใหม่ออกมาจำหน่ายเรียกว่า แคร็ก (crack) เป็นโคนเคนแข็ง เสพโดยการสูบและมีราคาถูกกว่าโคนเคนผงมาก ทำให้ผู้เสพซึ่งอายุยังน้อยสามารถหามาเสพได้

ผู้เสพแคร็กมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  1. เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง
  2. ฉลาดขึ้น และ
  3. มีเพศสัมพันธ์ดีขึ้น แต่แคร็กทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายเร็วกว่าและมากกว่าโคนเคนผงซึ่งเสพโดยการสูดดม

รูปแบบของสาร

        โคเคนเป็นสารที่ได้มาจากพืชซึ่งมีชื่อว่า โคคา (coca) ในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ มีการปลูกต้นโคคากันมาก ชาวพื้นเมืองนิยมเคี้ยวใบโคคาซึ่งมีชื่อเล่นว่า “บาซัลคา” (basulca) ผู้ป่วยเสพโดยการนำผงโคเคน (cocaine hydrochloride) มาสูดดมทางจมูกหรือละลายน้ำแล้วฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยอาจนำมาผสมกับเฮโรอีนแล้วดมหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ โดยเรียกกันในหมู่ผู้เสพว่า “สารเพิ่มพลังและความสุข” (speed ball) ชนิดที่นิยมเสพคือ cocaine alkaloid ซึ่งสกัดมาจากชนิดผงดังกล่าวมีคุณสมบัติระเหยง่าย ดังนั้นเมื่อสูดดมจะออกฤทธิ์เร็วมาก อีกชนิดหนึ่งซึ่งนิยมเสพ โดยเฉพาะในประเทสอเมริกาคือโคเคนแข็ง เรียกว่า “แคร็ก" (crack) เสพโดยการสูบแบบสูบบุหรี่และมีราคาถูกมากว่า เป็นชนิดที่ผู้มีอายุน้อยนิยมเสพเพราะราคาถูกกว่าและหาได้ง่ายกว่า ในประเทศไทยโคเคนผงราคากรัมละประมาณ 3 พันบาท

แคร็กและโคเคนผงมีข้อแตกต่างกันดังนี้

  1. แคร็กเสพโดยการสูบ ทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนานเร็วกว่ามาก ภายในเวลาเพียง 10 วินาที และมีฤทธิ์อยู่นาน 5-15 นาที โคเคนผงเสพโดยการสูดดม ออกฤทธิ์ช้ากว่า (ประมาณ 1-2 นาที) แต่มีฤทธิ์อยู่นานใกล้เคียงกัน
  2. เมื่อเสพแคร็กด้วยกล้องสูบ (ไปป์) แม้เพียงริมฝีปากผู้เสพได้สัมผัสกับไออุ่นของกล้องสูบผู้ป่วยก็มีอารมณ์สนุกสนานแล้ว ซึ่งลักษณะเช่นนี้อธิบายได้ว่าเป็น- พฤติกรรมตอบโต้แบบมีเงื่อนไข (conditioning)
  3. แคร็กทำให้เกิดความสุขมากกว่าโคเคนผงหลายเท่า
  4. แคร็กทำให้เสพติดง่ายกว่ามาก
  5. แคร็กทำให้ผู้เสพอ่อนแอ และเกิดโรคทางกายเร็วและรุนแรงมากกว่าอาการ

ผลของการเสพโคเคนขนาด 25-150 มิลลิกรัม มีดังต่อไปนี้

  1. มีความสุข และอารมณ์สนุกสนาน
  2. มีพละกำลังมาก
  3. เพิ่มประสิทธิภาพของสมอง
  4. มีภาวะตื่นตัว
  5. เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้ทุกชนิด เช่น เรื่องทางเพศ การได้ยินเสียง การมองเห็นภาพและการสัมผัส
  6. เพิ่มความวิตกกังวลและความระแวงสงสัย
  7. นอนหลับได้น้อยลง
  8. อาการอ่อนเพลียหมดไป
  9. มีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น
  10.   รู้สึกตัวเองมีความสำคัญ
  11.   ทำให้เสพติด
  12.   มีอาการวิกลจริต เช่น มีความคิดหลงผิดว่ามีคนคอยปองร้ายหรือจะฆ่า
  13.   ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ม่านตาขยายและมีไข้

อาการขาดสาร ผู้ที่ติดโคเคนแล้วไม่มีสารเสพจะมีอาการดังต่อไปนี้

  1. มีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่ายและก้าวร้าว
  2. นอนไม่หลับและฝันร้ายหรืออาจนอนหลับยาก
  3. มีความรู้สึกไม่สบายใจอย่างรุนแรง
  4. อ่อนเพลียไม่มีแรง
  5. อาจเชื่องช้าหรือกระวนกระวาย
  6. มีอารมณ์เศร้า คิดอยากตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย บางรายฆ่าตัวตายสำเร็จ

อันตรายและพิษของโคเคน

  1. มีอาการวิกลจริต เช่น คิดไปเองว่ามีคนคอยปองร้าย มีคนพูดจาว่าตน มีหูแว่ว ภาพหลอนและรู้สึกว่ามีแมลงไต่ตามตัว
  2. มีอาการซึมเศร้ามาก เบื่อชีวิต คิดอยากตายและฆ่าตัวตายสำเร็จ
  3. ประสบวิกฤตทางด้านเศรษฐกิจ เพราะต้องหาเงินไว้ซื้อโคเคนเพื่อเสพ ซึ่งมีราคาแพงมาก สูญเสียทรัพย์สินเงินทองและบ้านที่อยู่อาศัย มีหนี้สินล้นพ้นตัว
  4. ประกอบอาชญากรรมเพื่อหาเงินมาซื้อโคเคน อาจเข้าไปอยู่กับกระบวนการค้าขายยาเสพย์ติด้วย
  5. ยอมขายตัวเป็นโสเภณีเพื่อเอาเงินมาซื้อยา
  6. มีพฤติกรรมรุนแรง เกิดการทะเลาะวิวาท อาจประสบอันตายหรือทำร้ายผู้อื่น
  7. มีพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ และมีความต้องการทางเพศสูง ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งโรคเอดส์

พิษต่อร่างกาย มีดังต่อไปนี้

  1. ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ
  2. มีลมในช่องอก เนื่องจากผู้ป่วยหายใจอย่างแรงเพื่อให้ดูดซึมโคเคนได้มากที่สุด ทำให้ผนังปอดฉีกขาด หายใจไม่ออก และอาจเสียชีวิต
  3. เป็นโรคไซนัสอักเสบ เลือดออกในจมูก และผนังกั้นในจมูกทะลุ
  4. น้ำหนักลดลงมาก โดยโคเคนกดสมองทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร
  5. อาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและเสียชีวิต แม้อายุยังน้อย
  6. ใจสั่นและหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  7. มีอาการชัก แบบโรคลมบ้าหมู
  8. ผู้ป่วยซึ่งตั้งครรภ์จะมีผลดังนี้
    - ปริมาณเลือดไปสู่ทารกลดน้อยลง
    - รกลอกตัวก่อนกำหนด
    - ปวดท้องและคลอดก่อนกำหนด
    -น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำมากและอาจเสียชีวิต

การรักษา
        โดยทั่วไปอาการขาดโคเคนมักเป็นไม่รุนแรง ให้การรักษาโดยอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด ร่วมกับการให้ยากล่อมประสาทและยารักษาโรคจิต
สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาคือการช่วยผู้ป่วยให้สามารถต้านต่อความรู้สึกอยากเสพสารอีกซึ่งมักรุนแรง